องค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ 1+2+1

    องค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน มีดังนี้

    ๑. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้และต่อยอด เป็นองค์กรที่ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหา รวบรวม คิดค้น วิจัย ทดลองนำร่อง ติดตามประเมินผล และขยายผลนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ในระดับนโยบายและการปฏิบัติ บูรณาการความร่วมมือเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ ขับเคลื่อน และส่งมอบนวัตกรรมสู่ระบบการศึกษาและสาธารณะ ในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรมการจัดการศึกษา อย่างเป็นระบบ ทันสมัย และมีคุณภาพ และให้การส่งเสริมศักยภาพ สร้างโอกาส และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษาของไทยในระดับประเทศและระดับนานาชาติ  บนฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

    ๒. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (Suan Dusit University) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย ชื่อ “โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน” เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ พัฒนาจากโรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้าน การศึกษาปฐมวัย คหกรรมศาสตร์ ธุรกิจบริการ ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการบิน และโรงเรียนกฎหมายและการเมือง

      มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ ๒๙๕ ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีศูนย์การศึกษา ๕ ศูนย์ ได้แก่ สุพรรณบุรี ลำปาง นครนายก หัวหิน และตรัง เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

      คณะวิทยาการจัดการบริหารธุรกิจ ได้พัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ประกอบการในยุคใหม่อย่างแท้จริง โดยผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจระหว่างประเทศจีน-อาเซียน สามารถใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษในการติดต่อเชิงธุรกิจภายให้ระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัล มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของตลาดแรงงานและมีจรรยาบรรณผู้ประกอบการ

    ๓. สถาบันขงจื่อ เป็นสถาบันที่สนองความต้องการของประชาชนทั่วโลกในการเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน โดยสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Office of Chinese Language Council International หรือ Hanban: ฮั่นปั้น) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลจีนที่รับผิดชอบในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศต่าง ๆ ได้ก่อตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นทั่วโลกและเป็นองค์กรที่ดำเนินการเรียนการสอนภาษาจีนโดยไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื่อตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนและมีสถาบันขงจื่อในประเทศไทย ได้แก่

      ๑) สถาบันขงจื่อสำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย
      ๒) สถาบันขงจื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร)
      ๓) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร)
      ๔) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (กรุงเทพมหานคร)
      ๕) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร (กรุงเทพมหานคร)
      ๖) สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (กรุงเทพมหานคร)
      ๗) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ปทุมธานี)
      ๘) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยบูรพา (ชลบุรี)
      ๙) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (สุพรรณบุรี)
      ๑๐) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (เชียงราย)
      ๑๑) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เชียงใหม่)
      ๑๒) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขอนแก่น)
      ๑๓) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มหาสารคาม)
      ๑๔) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สงขลา)
      ๑๕) สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ภูเก็ต)
      ๑๖) สถาบันขงจื่อเมืองเบตง (ยะลา)

    ๔. มหาวิทยาลัยกวางสี (Guangxi University) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ตั้งอยู่ในเมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นในคริสตศักราช ๑๙๒๘ ระหว่างการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติในทศวรรษ ๑๙๕๐ หน่วยงานที่ถูกย้ายไปทั่วประเทศจีนในการสร้างหรือสนับสนุนสถาบันการศึกษาอื่น ๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยหวู่ฮั่นซุนยัตเซ็นมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยครูกวางสี

      มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในวิทยาลัยและแผนกต่าง ๆ รวม ๓๐ แห่ง และสาขาวิชาเอก ระดับปริญญาตรี รวม 97 สาขา ระดับปริญญาโท ๓๖ สาขาหลัก และ ๑๗๑ สาขาย่อย และระดับปริญญาเอก ๘ สาขาวิชาหลัก และ ๔๕ สาขาวิชาย่อย ตลอดจนศูนย์วิจัยหลังปริญญาเอก ๗ แห่ง ในคริสตศักราช ๒๐๑๗ มหาวิทยาลัยกวางสีได้รับเลือกให้เป็นผู้รับผลประโยชน์จากแผน Double First Class Universityโดยได้รับทุนสนับสนุน Double First Class แก่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ซึ่งรัฐบาลจีนพยายามยกระดับสถานะ “ระดับโลก” สี่สาขาวิชาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์การเกษตรและวัสดุศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก ๑% ตาม Thompson Reuters In Cites Essential Science Indicators (ESI)

      มหาวิทยาลัยกวางสีมีความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเทศไทย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย  ภายใต้โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ เป็นต้นมา

โดยมีความร่วมมือในการดำเนินงานของแต่ละองค์กรตามแผนผัง ดังต่อไปนี้